บาดแผลทางใจ สาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้า (me & another me) – [พูดคุยกับนักจิตบำบัด]
#แผลกายกับแผลใจต่างกันยังไง :
สมมติว่าเราต้องถูกผ่าตัด ขณะที่ผ่าหมอจะทำให้เราสลบด้วยยา หรือฉีดยาชาเพื่อให้ไม่รู้สึกเจ็บปวด ในขณะที่ผ่าตัดเสร็จใหม่ๆ หมอก็จะให้ยาแก้ปวด หรือมอร์ฟีนเพื่อบรรเทาความเจ็บจากแผลผ่าตัด พอเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง แผลผ่าตัดที่เคยเจ็บเคยปวดก็จะเริ่มผสาน เริ่มหายเจ็บ แล้วก็กลายเป็นแผลเป็นที่เหลือไว้เพื่อเตือนความจำว่ารอยแผลนี้มีที่มาอย่างไร อันนี้เป็นภาพของการรักษาบาดแผลทางกาย แต่พอเป็นบาดแผลทางใจ มันจะเหมือนกับว่า แผลนั้นในความรู้สึกมันสดอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเมื่อวาน วันนี้ วันพรุ่งนี้ แผลอิชั้น ‘ใหม่-สด-เสมอ’
.
ตอนผ่าแผลใจไม่มีหมอดมยาสลบหรือยาชาให้ฉีดด้วยนะจ๊ะ ผ่าสดกันเลยทีเดียว กรีดร้องกันไป หลังผ่าก็ไม่มีมอร์ฟีนช่วยบรรเทาความปวดของแผล ต้องอดทนต่อบาดแผลในใจนั้นเอง ซึ่งความอดทนกับความเจ็บปวดของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน… พอเวลาผ่านไป บางคนก็อาจจะลดระดับความเจ็บปวดลงได้ ในขณะที่อีกคนกลับเพิ่มระดับขึ้นไปอีก
.
อันที่จริงเรื่องเลวร้ายต่างๆ เกิดขึ้นได้กับทั้งคนที่มีและไม่มีพระเจ้า ตั้งแต่ที่พี่เฟยทำงานด้านนี้มา ไม่ว่าจะรวยหรือจน ตำแหน่งใหญ่โตหรือจะทำงานเล็กน้อย เป็นคริสเตียนหรือไม่ ‘ทุกคน’ มีปัญหาหมด และถ้าถามว่า “ทำไมเรื่องแย่ – โคตรแย่แบบนี้ถึงเกิดขึ้นกับเรา?” อันที่จริงมีคริสเตียนหลายคนที่ตั้งคำถามนี้ เมื่อเจอกับภาวะโคตรทุกข์.
Me & Another Me ตอนพิเศษ พี่ชูใจชวน ‘พี่เฟย’ นักจิตบำบัดคริสเตียน มาพูดคุยเกี่ยวกับบากแผลทางใจ แม้มองไม่เห็นแม้มันมีอยู่จริงและเจ็บจริง จะจริงแค่ไหน และกลไกเป็นยังไง อ่านได้ในบทความตอนพิเศษนี้เลย ละเอียด ชัดเจน และอ่านง่าย แชร์ง่ายเหมือนเดิม ^^
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
.
จำนวนตอน : 7 ตอน
เวลาการเผยแพร่ : วันศุกร์และเสาร์ เวลา 21.00 น.
อ่านตอนอื่นๆ ทั้งหมดใน Season 1 ได้ทาง : https://choojaiproject.org/category/articles/life-series/me-and-another-me/
.
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
.
#โรคซึมเศร้า #ไดอารี่ #จิตบำบัด #บาดแผลทางใจ #ชูใจProject