* สำหรับ iphone สามารถติดตามฟังใน ได้ทาง App Podcast ได้แล้วนะคะ >>> วิธีการฟังรายการ สวัสดีชาวโลก! ใน iphone
- วันที่ 31 ตุลาคมสำหรับชาวยุโรป เป็นวันฮาโลวีน ที่คนไทยคุ้นเคยกันในชื่อวันปล่อยผี เทศกาลฮาโลวีนนี้จริงๆ แล้วมาจากไหนแล้วทำไมเมืองคริสต์จ๋าอย่าง ยุโรปและอเมริกันถึงมีเทศกาลนี้ แล้วจริงๆ ฮาโลวีนแปลว่าอะไร แล้วเป็นเทศกาลเพื่อการทำอะไรกันแน่?
ฮาโลวีนในความเข้าใจของคนไทย (นาทีที่ 1.00)
สำหรับคนไทยถ้าพูดถึงเทศกาลฮาโลวีน เราอาจจะมีภาพจำดกี่ยวกับ การแต่งตัวเป็นผีและไปเที่ยวเคาะประตูบ้านของขนม การแต่งตัวแฟนซีและร่วมวงแอลกอลฮอล หรือ การประดับประดาบ้านช่องด้วยโคมไฟฟักทอง และแสงเทียน ที่เรารับรู้ภาพของวันฮาโลวีนในแบบนี้ เพราะเรารับรู้มาจากสื่อตะวันตก ทั้งทีวี นิตยสาร และภาพยนตร์ต่างๆ ซึ่งเป็นการนำเสนอความจริงเกี่ยวกับวันฮาโลวีนเพียงด้านเดียว
ความจริงแล้ว ชื่อวันฮาโลวีน เป็นเทศกาลของชาวคริสต์ (นาทีที่ 2.25)
- Hollowed เป็นคำในภาษาแองโกลแซกซัน แปลว่า ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า sanctify ที่มีรากมาจากภาษาละติน ก็คือทำให้บริสุทธ์ศักดิ์สิทธ์ ซึ่งผู้ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธ์ ก็คือ Saint นั่นเอง ส่วนคำว่า Saint ก็แปลว่า ผู้ศักดิ์สิทธ์ หรือนักบุญ
- ตัวชื่อของเทศกาล “Hallow” นั้นมาจากฐานคิดแบบคริสเตียน อันที่จริงแล้วคืนนี้เป็นคืนที่เรียกว่า Hallow’eve หรือแปลง่าย ๆ ว่าคืนก่อนวัน Hallow เพราะวันต่อมา คือ 1 พฤศจิกายน นั้นคือวัน All-Hallow day หรือ All Saint Day วันระลึกถึงผู้ชอบธรรมที่ล่วงหลับไปแล้วทั้งหลายซึ่งคาดว่าถูกกำหนดวันอย่างนี้ในช่วงศตวรรษที่ 8 โดยสันตะปาปาเกรกอรีที่ 3Halloween เองก็เหมือนกันเทศกาลอื่น ๆ ที่เราพบเห็นได้ในปฏิทินคริสเตียน (Liturgical Calendar) ที่หลาย ๆ เทศกาลนั้นรับอิทธิพลมาจากเทศกาลอื่น ๆ ในสังคมยุโรปโบราณและถูกใส่ความหมายใหม่เข้าไป บางเทศกาลเช่นคริสมาสต์กับอีสเตอร์ก็อาจจะชนะและได้รับความหมายแบบคริสเตียนเต็มที่แม้จะยังหลงเหนือบางอย่างจากวัฒนธรรมเดิมเช่นไข่และกระต่ายเอาไว้แต่ความหมายของวัฒนธรรมเดิมก็ถูกแทนที่ได้ไปเรียบร้อย แต่บางเทศกาลอย่างเช่น Halloween นี้ก็อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จในการช่วงชิงความหมายสักเท่าไหร่
ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับโลกของผีที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในวันฮาโลวีน (นาทีที่ 7.00)
แต่ก่อนที่จะเป็นวันก่อนวันระลึกถุงนักบุญ วันที่ 31 ตุลาคม เคยเป็นวันปล่อยผีมาก่อน และที่มาแบบนี้เองที่ทำให้ ชาวคริสต์สมัยใหม่หลายคนที่อนุรักษ์นิยม รู้สึกไม่สบายใจกับที่มาอันน่าสะพรึงนี้
วันที่ 31 ตุลาคมของทุกปีเป็นเทศกาลวันฮัลโลวีนซึ่งในธรรมเนียมของโลกปัจจุบันนั้นสืบทอดมาจากประเพณีของชาวเซลติก(celts) ชาวพื้นเมืองเดิมแถบเกาะไอร์แลนด์ และอังกฤษ ที่ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวเฉลิมฉลองเทศกาลวันสุดท้ายของฤดูร้อน ซึ่งเป็นเวลาสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวพืชไร่ (เช่นฟักทอง) และนับเป็นการเริ่มต้นของฤดูหนาว ซึ่งหมายความว่าชาวบ้านในแถบนั้นจะปลูกอะไรไม่ได้เลย
โดยมีธรรมเนียมดั้งเดิมมาจากความเชื่อว่า “วิญญานแห่งฤดูหนาว” จะมาเยือนผู้คนตามบ้าน หากใครถวายอาหารให้ วิญญาณนั้นก็จะอวยพรให้ได้รับโชคตลอดทั้งฤดู แต่จริง ๆ แล้วประเพณีดังกล่าวน่าจะเป็นกุศโลบายให้คนมอบความช่วยเหลือแก่เพื่อนบ้านขี้อายที่อาจประสบกับความอดยากจากปัญหาผลผลิตไม่ดีในปีนั้น ประเพณีเคาะประตูตามบ้านนี้ ไป ๆ มา ๆ เลยกลายเป็นธรรมเนียมที่เด็ก ๆ แต่งชุดผีแล้วออกเดินตระเวนเคาะประตูเพื่อนบ้านในชุมชนพร้อมกล่าวประโยคว่า Trick or Treat (จะหลอกหรือจะเลี้ยง) ซึ่งเป็นการละเล่นที่ได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา
แน่นอนว่าชาวเซลติก ไม่ได้อยู่ในทวีปอเมริกา แต่วัฒนธรรมนี้มันหลั่งไหลไปกับชาวยุโรปที่ย้ายถิ่นฐานไปนั่นเอง
ความหมายใหม่และความหมายเก่าของฮาโลวีน (นาทีที่ 14.10)
หลังจากสังคมยุโรปได้เปลี่ยนจากสังคมที่นับถือผี สู่สังคมที่รับถือศาสนาคริสต์มีความพยายามในการที่จะเปลี่ยนแปลงเทศกาลเดิมและให้ความหมายแก่วันเทศกาลใหม่ แต่บางครั้งชาวบ้านเองก็ยังคงผสมผสานความเชื่อเดิมเข้าไปในประเพณีต่างๆ ที่เคยเชื่อถือ จึงเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมในระบบดับชาวบ้าน แม้ว่าศาสนาจะปฏิเสธวิธีการเหล่านั้น
หลังจากชาวพื้นเมืองยุโรปได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์แทนที่จะฉลองวันปีใหม่แบบเดิม จึงเกิดธรรมเนียมประเพณีของชาวคริสเตียนแทนที่ ค่ำคืนวันที่ 31 ตุลาคมนั้น จึงถูกเรียกว่า All Hollow’s eve หรือเรียกง่าย ๆ ว่า All Saints eve ตั้งแต่ปี ค.ศ. 731 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 3 ตั้งวันนี้ขึ้นเพื่อระลึกถึงและแสดงความเคารพเหล่านักบุญผู้เคยมีคุณูปการณ์แก่ศาสนา
อย่างไรก็ตามคืนฮาโลวีนก็ เป็นค่ำคืนที่คริสตชนระลึกถึงบรรพบุรุษทางความเชื่อ เหล่ามิชชันนารี หรือ อาจารย์ต่าง ๆ ที่นับถือ ( หากเป็นพี่น้องคาทอลิกก็จะระลึกถึงนักบุญและเหล่าผู้พลีชีพเพื่อความเชื่อในอดีต) และในวันรุ่งขึ้น หรือ วันที่ 1พฤศจิกายน ก็จะเป็นวัน All Saints Day คริสเตียนบางส่วนจะถือโอกาสไปยังสุสานเพื่อทำความสะอาดสุสานและระลึกถึงบรรพชน ส่วนพี่น้องคาทอลิกจะเข้าโบสถ์เพื่อระลึกถึงเหล่าวีรชนแห่งความเชื่อและนักบุญ
ไม่ว่าเราจะมองวันฮาโลวีนอย่างไรและมีจุดยืนกับเทศกาลนี้อย่างไร อย่าลืมว่า ไม่ว่าเราจะร่วมกิจกรรม หรือปฏิเสธที่จะเข้าร่วมอย่างไร เราก็ต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความรัก
“ไม่สำคัญว่าฮาโลวีนเป็นวันอะไร…สำคัญว่าเราทำอะไรในวันนี้มากกว่า”
__________________________
แบบฝึกหัดการเข้าใจชาวโลก ตอนที่ 2
– ภาพของวันฮาโลวีนในประสบการณ์ส่วนตัวของเราเป็นแบบไหน?
– พอฟังจบแล้ว เรามีความคิดเห็นยังไงเกี่ยวกับวันฮาโลวีน
#สวัสดีชาวโลก เผยแพร่วันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน ชาวชูใจสามารถกดฟัง Podcast จากชูใจทุกตอนได้ทางลิงค์นี้ >>> https://choojaiproject.podbean.com และจะกด Follow เพื่อให้ไม่พลาดรายการใหม่ๆ ด้วยนะ ^^
Related Posts
- Author:
- Blogger ผู้มากความสามารถในงานเขียน เป็นคริสเตียนที่เรียนสังคมวิทยา ฯ มาอย่างโชกโชน สเตตัสปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ และ รับใช้พระเจ้าไปด้วย :)