Podcast Project รู้เขารู้เรา : โปรเจ็คที่จะช่วยให้คุณรู้จักตัวเองและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น
พูดคุยโดย : วอร์ วรรัก และ เจด เจษฎา
นักศึกษาพระคริสต์ธรรมด้านการให้คำปรึกษา
Highlight
- หลายครั้งคนที่พูดตรงๆ จนคนฟังรู้สึกแย่อาจไม่ได้มาจากเจตนาร้าย แต่เป็นความหวังดีที่ไม่ได้ระมัดระวัง หรือเขาอาจไม่รู้จริงๆ ว่าคำพูดแบบนั้นทำให้คนอื่นรู้สึกพัง เพราะคนเราไวต่อความรู้สึกไม่เท่ากัน
- ยังมีวิธีการพูดตรงๆ โดยที่ผู้ฟังไม่ต้องรู้สึกเจ็บปวด เรียกว่า “การพูดตรงๆ แบบสร้างสรรค์” ซึ่งวันนี้รู้เขารู้เราจะมาเปิดเผยเคล็ดลับว่าพูดอย่างไรให้ความสัมพันธ์ราบรื่น
…
การพูดตรงๆ มี 2 แบบ คือแบบ สร้างสรรค์ และ แบบไม่สร้างสรรค์
[นาทีที่ 8.30]
จริงๆ แล้วเราพูดตรงๆ กันตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน เพราะมันคือการสื่อสารสิ่งที่อยู่ในใจเราออกไปยังอีกคนนึงอย่างตรงไปตรงมา เช่น หยิบนี่ให้หน่อย ช่วยทำอันนี้ที
ทั้งนี้บางทีการพูดตรงก็อาจสร้างบาดแผลได้ เพราะ ความจริงใจ + ความหวังดี อาจไม่สร้างสรรค์เพียงพอ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่รับสารตรงๆ ได้ การพูดที่ดีต้องมีการปรุงรส ก็คือการพูดตรงๆ แบบสร้างสรรค์นั่นเอง
การพูดจากใจที่ขาดความเข้าใจ อาจทำร้ายจิตใจโดยไม่ได้ตั้งใจ
[นาทีที่ 10.50]
ในอีกมุมการที่บางคนเลือกที่จะพูดตรงๆ ออกมา เค้าไม่ได้ต้องการจะทำร้ายเรา แต่เพราะเค้าคิดว่า มันคือความจริงใจ เป็นการพูดในสิ่งที่มันออกมาจากใจ และเพราะสนิทกันจึงไม่จำเป็นต้องประดิษฐ์คำอะไรมากมาย เพราะการเรียนรู้ที่ผ่านมาหรือสภาพแวดล้อมที่เค้าเติบโตมาอาจหล่อหลอมให้เค้าเป็นแบบนั้น ทำให้เค้าคิดว่าการพูดตรงๆ คือความจริงใจ ดังนั้นอย่าพึ่งไปปิดประตูใจของเรา
พระคัมภีร์ได้ให้หลักการของการพูดอย่างสร้างสรรค์ไว้ว่า นอกจากความจริงเราต้อง + ความรักลงไปด้วย
“จงพูดความจริงด้วยความรัก”
เอเฟซัส 4:15 (TNCV)
เข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร
[นาทีที่ 14.35]
คนเราสื่อสารมากกว่าแค่คำพูดและผู้รับสารก็แปลความหมายจากสิ่งที่เขาเห็นมากว่าได้ยินเสียอีก *งานวิจัยของ ดร.อัลเบิร์ต เมห์เรเบียน พบว่าองค์ประกอบในการสื่อสารของมนุษย์ มี 3 รูปแบบหลักๆ คิดเป็น % ในการสื่อสารดังต่อไปนี้
.
1. คำพูด (wording) 7%
2. น้ำเสียงและโทนเสียง 38%
3. ภาษากาย 55%
วิธีการพูดความจริงแบบสร้างสรรค์
[นาทีที่ 17.25]
การพูดด้วยความรัก นั้นมาจาก ภาษากายและน้ำเสียง (อวัจนะภาษา)
เพราะ มนุษย์เราใช้ภาษากายและน้ำเสียงในการสื่อสารมากถึง 93% (งานวิจัย element of personal communication)
ดังนั้นการพูดด้วยความรักคือ การพูดจาก
● น้ำเสียง (ด้วยความรัก) – [นาทีที่ 17.32]
● สีหน้า (ด้วยความรัก) – [นาทีที่ 21.08]
● และท่าทาง (ด้วยความรัก) – [นาทีที่ 24.45]
คำแนะนำในการการคุยโทรศัพท์และการแชท
[นาทีที่ 27.15]
ในการคุยโทรศัพท์เราไม่สามารถสื่อสารภาษากายเรื่องท่าทาง น้ำเสียงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถึงอย่างนั้นถ้าเรายิ้มไปด้วยและพูดคุยไปด้วยน้ำเสียงก็จะเป็นมิตรขึ้น สำหรับการแชทนั้นไม่มีทั้งท่าทางและน้ำเสียงทำให้การสื่อสารมักคลาดเคลื่อนและมีปัญหาเข้าใจไม่ตรงกัน ข้อควรระวังคือไม่ควรพิมพ์เฉพาะข้อมูลห้วนๆ เราอาจใช้วิธีการใส่ข้อความแสดงอารมณ์หรือสติ๊กเกอร์อิโมติค่อนก็ช่วยได้บ้าง แต่หากจำเป็นต้องคุยเรื่องซีเรียสควรหลีกเลี่ยงการแชท อาจใช้การโทรหรือเจอกันหน้าต่อหน้าจะดีกว่า
“การที่เราจะพูดหรือแสดงบางสิ่งบางอย่าง ทุกอย่างล้วนออกมาจากใจ คำพูด น้ำเสียงและท่าทาง
ที่เราแสดงออกมามันจะสอดคล้องกับสิ่งที่อยู่ข้างในใจของเรา” – [นาทีที่ 29.40 ]
สรุป :
นอกจากคำพูดแล้วเราก็ควรสื่อสารด้วยการแสดงออกทางภาษากายด้วย เพราะการแสดงออกทางภาษากายนั้นส่งผลต่อการรับรู้ได้มากกว่าตัวคำพูดเองซะอีก การใส่ใจในภาษากายในขณะที่เราสื่อสารจะช่วยให้เราสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าถึง ละไม่มีกำแพงในการสื่อสาร
.
_______________________________
.
ฟังแล้วลองฝึกกัน อยากให้น้องๆ ลองถามตัวเองดูว่า…
● เราพูด(ด้วยความรัก)มากน้อยแค่ไหน?
● และถ้าเราจะพูด(ด้วยความรัก)ให้มากขึ้น …เราจะเริ่มจากอะไรก่อน?
.
_______________________________
.
ขอขอบคุณที่ปรึกษาด้านเนื้อหา :
อ. เจนจิต เลิศมาลีวงศ์ อาจารย์ประจำหมวดวิชาพระคัมภีร์ใหม่ โรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์แบ๊บติสต์ สวนพลู (TBTS)
.
*อ้างอิง งานวิจัยของ ดร.อัลเบิร์ต เมห์เรเบียน : http://www.speakingaboutpresenting.com/presentation-myths/mehrabian-nonverbal-communication-research/
ชาวชูใจสามารถกดฟัง Podcast รู้เขารู้เราทุกตอนที่ผ่านๆ มาได้ทางลิงค์นี้ค่ะ >>> http://choojaiproject.podbean.com นอกจากนี้ยังสามารถกด Follow ชูใจเพื่อให้ไม่พลาด Podcast อื่นๆ ในอนาคต
Related Posts
- Author:
- Editor สาวเรียบเรียงหลายบทความในชูใจ เธอผู้มีภาษาละมุนละไม กระดุ้มกระดิ้ม และยังมุ่งมั่นรับใช้พระเจ้าและมีภาระใจในการทำงานด้านให้คำปรึกษากับวัยรุ่น เลยต้องดั้นด้นไปอยู่เมืองสิงโตพ่นน้ำเพื่อเรียนต่อด้านนี้!
- Author:
- ชายหนุ่มวัยปลายยี่สิบ ผู้ผันตัวจากการเป็นกราฟิกมือทอง มาทำงานรับใช้สายผู้ให้คำปรึกษา ต้องการจะชูใจผู้อื่นด้วยการทำให้น้องๆ ได้รู้จักตัวเองมากขึ้นกว่าเดิม!!!
- Illustrator:
- เฮียกิดไจ๋
- หนุ่มน้อยไฟแรงผู้รับใช้ เป็นคนเจนวายสาย conservative อนุรักษ์มือถือแบบปุ่มกด ไม่นิยมการใช้โซเชียล ชื่นชอบการอบคุ้กกี้ ดูเตียบ่อกี้และละครนาคีกับที่บ้าน เชี่ยวชาญทางด้านกราฟฟิกและงานครัว นี่มัน! หนุ่มโสดในฝันของสาวๆ เลยนี่นา!