ถ้าสังเกตดีๆ เนื้อหาเกินกว่าครึ่งในพระคัมภีร์ใหม่เป็นจดหมายฝาก
พระเจ้าคงไม่ได้มาบอกกับเปาโลว่า เนี่ยต่อไปจดหมายที่เขียนจะถูกใช้เป็นพระคัมภีร์นะ ตั้งใจเขียนหน่อย และ เปาโล คงไม่ได้บรรจงเขียนเพราะตั้งใจจะรวบรวมให้เป็นคัมภีร์ด้วยเช่นเดียวกัน
แล้วทำไมถึงต้องเป็น “จดหมาย”?
จดหมายมีรูปแบบที่น่าสนใจยังไง?
แถมบางที เราอ่านเป็น “คัมภีร์” โดยลืมไปว่ามันเป็น “จดหมาย” เลยพลาดที่จะเห็นหัวใจของผู้เขียน ซึ่งทำให้พลาดที่จะเห็นใจความสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับศาสนศาตร์ไปด้วย เลยใชัวิธีหยิบข้อพระคัมภีร์มาใช้เป็นข้อๆ จนพลาดที่จะเห็นภาพรวมทั้งหมดไป
และ เปาโล ไม่ได้เขียน จดหมายแบบคิดได้ก็เขียน แต่ค่อยๆบรรจง เรียบเรียงความคิดอย่างเป็นระบบ จนเป็นจดหมายฝากหลายฉบับ
ที่ไม่ได้เป็นจดหมายเพียงเพื่อแก้ปัญหา ณ เวลานั้น แต่ยังเป็นจดหมายที่ตรงมาถึงเราทุกคนในปัจจุบันอีกด้วย
มาคุยกันในตอนนี้กันก่อน เพื่อหาที่มาที่ไป ก่อนจะเข้าสู่ซีรี่ย์ การอ่านพระคัมภีร์ตอนใหม่ ในเรื่อง “วิธีการอ่าน จดหมายฝาก”
……………………………………………………………..
#ชูใจprojectpodcast
#พระคัมภีร์ไม่ไหลย้อนกลับ
พระคัมภีร์ไม่ไหลย้อนกลับ ติดตามได้ทุกวันศุกร์
ทั้งทาง podcast และ page choojai project
จัดทำร่วมกับ อ.ธนิต โลเกศกระวี
ผู้อำนวยการพระคริสต์ธรรมเชียงใหม่ (CTS)
……………………………………………………………….
ชาวชูใจสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน
การผลิตคอนเทนต์ของทีมชูใจ
ทั้งบทความและ Podcast ได้โดย
การอธิษฐานเผื่อการแชร์บทความ
และ การด้วยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการผลิต
รายละเอียดเพิ่มเติมทางลิงค์นี้ค่ะ www.choojaiproject.org/donate
Related Posts
- Author:
- อ.ธนิต โลเกศกระวี ผู้อำนวยการพระคริสต์ธรรมเชียงใหม่ (CTS) หรือ พี่ใช้ รุ่นพี่ผู้รับใช้ผู้มีไฟ และมีเป้าหมายที่จะสืบสาน และ ส่งต่อความเข้าใจในพระคัมภีร์ให้กับพี่น้องคริสเตียน และ ผู้รับใช้รุ่นใหม่ๆต่อไป
- Illustrator:
- Narit
- เนื้อแท้เป็นคนรักหนัง เบื้องหลังดีไซน์เก๋ๆ สวยๆ ของเว็บชูใจ คือฝีมือของเค้า นักออกแบบตัวยงผู้รักบอร์ดเกมเป็นชีวิตจิตใจ และอยากเห็นงานสร้างสรรค์คริสเตียนไทยพัฒนาก้าวไกลไม่แพ้ชาติไหนในโลก