'ความหวัง' ของคุณอาจอยู่ใน Google

‘ความหวัง’ ของคุณ อาจอยู่ใน Google


บทความนี้ใช้เวลาในการอ่านประมาณ  3 นาที
วันที่เผยแพร่  : 29 กันยายน 2021


 

ยุคนี้คนเริ่มค้นหา ‘ความหวัง’ ในกูเกิ้ล

ถ้าเราจะพูดถึง ‘การแสวงหาพระเจ้า’ หรือ ‘ค้นหาความหวัง’ ภาพแรกๆ ที่เราคิดออก คงไม่พ้นภาพของคนสิ้นหวังที่กำลังนั่งคุกเข่าอธิษฐานในห้อง หรือหน้าแท่นนมัสการในอาคารโบสถ์หลังใหญ่ที่ว่างเปล่าไร้ผู้คน

มีสิ่งนึงที่น่าสนใจมากสำหรับศตวรรษที่ 21 ของเรา  วิธีการค้นหาความหมายของชีวิต ความหวัง และค้นหาพระเจ้าในยุคนี้แตกต่างออกไป ผู้คนอาจค้นหาเกี่ยวกับกับความเชื่อ ผ่านหน้าจอโทรศัพท์ของเขา ด้วยการใช้เครื่องมือค้นหา (search engine) เช่น google โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการระบาดใหญ่จนผู้คนต้องกักขังตัวเองอยู่ในบ้าน

 

ท่ามกลาง ‘โควิด’ ความหวังยังอยู่ (บนอินเตอร์เน็ต)

ในสภาวะกดดันของชีวิต ผู้คนอาจรู้สึกมืดแปดด้านและสิ้นหวัง นับตั้งแต่การระบาดครั้งใหญ่ของไวรัส covid-19 (เริ่มระบาดทั่วโลกในปี 2020) แม้ที่พึ่งทางจิตใจอย่าง ‘ศาสนสถาน’ ต่างๆ ก็ยังถูกปิด

จากรายงานของ premierchristian.news  พบว่าหลังครบรอบ 1 ปี ของการปิดเมืองในสหราชอาณาจักร  สถิติการค้นหาข้อมูลจาก google เปิดเผยให้เรารู้ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวอังกฤษตลอด 1 ปีอย่างน่าสนใจ ดังนี้

พบว่าในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในช่วงปี 2020-2021 นั้น คำค้นต่างๆ ในกูเกิ้ล  เช่น “ความหวัง” “การกอด” และ “การสวดมนต์” ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์  ข้อมูลนี้บ่งบอกเป็นนัยว่าผู้คนต่างต้องการการเต็มเติม ทั้ง ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางกาย และด้านจิตวิญญาณ

 

 

 

สำหรับในประเทศไทย จากการรวบรวมข้อมูลผ่านทาง Google trend ชูใจทีมพบว่าตลอดช่วง covid-19 ที่ผ่านมาประมาณ 2 ปี ข้อมูลบ่งชี้ว่า คำค้น ‘พระคัมภีร์’ ก็มีอัตราการค้นหาที่มีแนวโน้มมากขึ้น สอดคล้องกับคำค้นเกี่ยวกับ ‘ศาสนาคริสต์’ ที่มีการค้นหามากขึ้นเช่นกัน ในขณะที่คำค้นที่เฉพาะเจาะจง สำหรับคริสเตียนอยู่แล้วเช่น ‘เพลงนมัสการ’ และ ‘การเฝ้าเดี่ยว’ นั้นอยู่ในระดับคงที่ใกล้เคียงกับช่วง 5 ปีก่อนโควิดระบาดจนถึงปัจจุบัน (อาจเนื่องมาจาก หัวข้อเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องทำการค้นหาใหม่มากเพราะมีช่องทางที่คริสเตียนต่างใช้อย่างเช่น YouTube และเว็บไซด์เช่น มานาประจำวัน อยู่แล้ว)

 

(ข้อมูลจาก google trend สืบค้นวันที่ 25 กันยายน 2021)

 

ที่น่าสนใจคือการค้นหา ‘เปลี่ยนศาสนา’ มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจน ในช่วงปีที่การระบาดของโควิด-19 แม้ไม่อาจทราบได้ว่าผู้ค้นหาคำค้นเหล่านี้ต้องการเปลี่ยนศาสนาอะไรไปสู่ศาสนาอะไร แต่ปรากฏการณ์นี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนไหว และรู้ว่าผู้คนต้องการความหวังมากเพียงใด

 

 

สิ่งที่ผู้คนค้นพบบนโลกออนไลน์ จะเป็นคำตอบที่ดีเพียงพอรึเปล่า?

คล้ายๆ กับเวลาที่เราอธิษฐาน แล้วพระเจ้าไม่ตอบทันที หรือทรงตอบด้วยคำตอบที่เราไม่อยากได้ยิน ผู้อ่านคงเคยมีประสบการณ์ค้นหาแล้วไม่ได้คำตอบที่ตรงใจ หรือต้องรู้สึกผิดหวังเมื่อไม่สามารถค้นพบสิ่งที่เรากำลังค้นหาในเว็บไซด์เสิร์ชเอนจินได้ สาเหตุมีทั้งสิ่งที่เราค้นหานั้นไม่มีอยู่จริง หรือที่มีอยู่ก็เป็นคำตอบที่ไม่ชัดเจน

เสิร์ชเอนจินแม้จะมีระบบอัลกอรึทึมที่ทรงประสิทธิภาพขนาดไหน ก็อาจไม่สามารถหาคำตอบที่ดีมีให้เราได้ หากคำตอบเหล่านั้นไม่ได้เคยมีอยู่บนโลกออนไลน์

 

ช่วยกูเกิ้ลตอบคำถามเกี่ยวกับชีวิต ด้วยการสร้างคอนเทนท์ดีดีมีคุณภาพ

นอกจากค้นค้นหาที่เติบโตขึ้นในช่วงโควิด-19 แล้วในด้านหนึ่งอีกสิ่งหนึ่งที่เติบโตขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน คือการเติบโตของเนื้อหา ‘คอนเทนท์’ ต่างๆ ที่ถูกผลิตและป้อนเข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆ ของผู้คน แน่นอนว่าบรรดาคอนเทนท์ครีเอเตอร์ต่างรู้วิธีที่จะทำให้ผู้ติดตามของพวกเขาพอใจ และได้รับความรู้ ความสุขหรือความสนุก แต่ในแง่ของคอนเทนท์ที่เกี่ยวกับความหวังและกำลังใจแล้ว อาจมีน้อยกว่าความบันเทิง หรือความรู้ เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจไม่ได้สร้างเม็ดเงินให้กับผู้ผลิต ทำให้เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาหรือ พระเจ้า อาจมีน้อยและไม่ทันสมัย

 

เรื่องราวของคุณอาจเป็นคำตอบ ให้กับคนที่กำลังค้นหา

ชูใจเชื่อว่าเราคริสเตียนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกำลังใจและส่งต่อความหวัง เพื่อให้ผู้คนที่ค้นหา ได้ค้นพบความหวังเหล่านั้น ผ่านการเขียนบล็อก หรือบอกเล่าเรื่องราวของคุณ และแชร์ออกไปผ่านโซเชียลมีเดีย ต่างๆ หรือสร้างเนื้อหาที่เปี่ยมไปด้วยกำลังใจ อย่างบทความคำพยาน และข้อความหนุนใจต่างๆ ได้

 

ชาวชูใจคนหนึ่ง เปิดใจกับชูใจทีมว่า เขาเองก็เป็นคนหนึ่ง ที่สนใจว่าพระเจ้ามีจริงไหม และอยากรู้จักกับพระเจ้า จนได้ค้นหาคำตอบในกูเกิ้ลและยูทูป จนมีโอกาสได้รับเชื่อผ่านคลิปวีดีโอคลิปหนึ่ง ก่อนจะได้เริ่มไปโบสถ์ในอีกหลายปีต่อมา เช่นเดียวกันกับผู้คนอีกมากมายเราไม่อาจรู้ได้เลยว่า ข้อความที่เราอัพโหลดไว้ในโลกออนไลน์นั้น จะถูกค้นหา และค้นพบ จากใครในเวลาไหน

 

ลองคิดดูนะ … Google เป็นบริการเสริช์เอนจินที่มีมามากกว่า 23 ปีแล้ว และในช่วงเวลาเหล่านั้น ความหวัง และกำลังใจอาจถูกส่งออกไปให้กับคนอีกหลายคนที่ต้องการ เมื่อมีคน พิมพ์คำว่า ‘เพลงนมัสการพระเจ้า’ ‘บันทึกคำเทศนา’ หรือ ‘พระเยซูคือใคร’ ลงในแถบค้นหา อาจพบกับเรื่องราวของเราสักคนนึ่ง หรือคริสตจักรบางแห่งที่อาจหนุนใจและเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบของใครอีกหนึ่งคนก็เป็นได้

 

 

ชูใจ

ดังนั้นไม่ว่าจะอย่างไรพระคัมภีร์บอกกับเราว่า “เงยหน้าขึ้นดูนาเถิด ว่าทุ่งนาเหลืองอร่าม ถึงเวลาเกี่ยวแล้ว” –  (ยอห์น 4:35)
สำคัญว่าทุ่งนาสมัยนี้อาจเป็นทุ่งนาดิจิทัลด้วยเช่นเดียวกัน

 

#ด้วยรักและชูใจ

 

 

 


ข้อมูลอ้างอิง :

 

google searches for hope and prayer peaked during 2020 ,
Online.  https://premierchristian.news

 


หากคุณมีภาระใจและอยากร่วมสนับสนุนชูใจ Project ให้มีคอนเทนท์เพื่อให้กำลังใจและส่งต่อความหวังออกไป สามารถสนับสนุนเราได้ ผ่านการแชร์บทความ การอธิษฐานเผื่อ และถวายทรัพย์เพื่อพันธกิจของเราด้วยกัน  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง >>> https://choojaiproject.org/donate/ ขอพระเจ้าอวยพรชาวชูใจทุกคนค่ะ : )

 


Previous Next

  • Author:
  • Blogger ผู้มากความสามารถในงานเขียน เป็นคริสเตียนที่เรียนสังคมวิทยา ฯ มาอย่างโชกโชน สเตตัสปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ และ รับใช้พระเจ้าไปด้วย :)