“Girls shouldn’t be hit, not even with a flower!”
คำพูดของเด็กชายคนหนึ่งที่ถูกสัมภาษณ์ในวีดีโอชุด “Slap her”: children’s reactions คำพูดนี้สะท้อนให้เราเห็นถึงค่านิยมที่เด็กถูกปลูกฝังจากผู้ใหญ่ว่าควรให้เกียรติผู้หญิง แต่ในโลกที่เติมไปด้วยผู้ใหญ่ใบนี้ ผู้หญิง 1 ใน 3 ยังคงตกเป็นเหยื่อของการกระทำความรุนแรงในครอบครัว
จากผลสำรวจการกระทำความรุนแรงใครอบครัว โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ผู้หญิงราว 1 ใน 3 เคยได้รับการกระทำความรุนแรง ทางร่างกาย / เพศ ในขณะที่องค์กรสายด่วนความรุนแรงในครอบครัวของสหรัฐอเมริกา (The national Domestic Violence hotline) เปิดเผยว่า 1 ใน 7 ของผู้ชาย เองก็ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงจากคู่สมรส แต่ตัวเลขนี้อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงเพราะ ผู้ชายมีแนวโน้มปกปิด หรือ ไม่ยอมรับว่าตัวเองตกเป็นเหยื่อมากกว่า ในขณะที่อย่างน้อย 20 ประเทศ (ในปี 2014) ไม่ได้มีกฎหมายป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว และถือว่าเป็น “เรื่องภายในบ้าน”
องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนเป็น “วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล”สำหรับประเทศไทยก็ได้มีมติคณะรัฐมนตรี โดยกำหนดให้เดือนพฤศจิกายน เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เพื่อมุ่งเน้นให้สังคมได้ตระหนักที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงทั้งต่อเด็กและสตรี ให้หมดสิ้นไป
แผลส่วนใหญ่เกิดจากคนที่รัก
แต่ความรุนแรงก็ไม่ได้ลดน้อยลง และความรุนแรงต่อผู้หญิงส่วนใหญ่ เกิดจาก คนที่เรียกว่า “คนรัก” ของผู้หญิงเหล่านั้นเอง ในที่เรียกว่า “บ้าน” ซึ่งกล้องวงจรปิดตามเสาไฟฟ้าหรือสายตาของเจ้าหน้าที่ไม่อาจเห็น
ความรุนแรงในครอบครัวนั้นไม่ใช่เพียงการทำร้ายร่างกายเท่านั้นแต่มี 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่
- ความรุนแรงทางร่างกาย (Physical Violence) ได้แก่ การทุบตี การตบตี การกักขัง การกระทำต่อร่างกายอื่นๆ
- ความรุนแรงทางจิตใจ (Emotional Violence) ได้แก่ การด่าทอ เหยียดหยาม การเปรียบเทียบ แม้กระทั่งการเหมินเฉย
- ความรุนแรงทางเพศ (Sexual Violence) ได้แก่การข่มขื่นกระทำชำเรา การกดขี่ทางเพศ การเหยียดเพศ การปฏิบัติต่อผู้หญิงเพราะเพศที่แตกต่างอย่างไม่เป็นธรรม
คุณ อังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาพระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ให้ข้อมูลในเว็บไซด์ thaihealth.or.th ว่า ในแต่ละปีจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประมาณ 300 – 500 ข่าว โดยใน 1 ปีจะมีจำนวนผู้หญิงที่เข้ามาขอความช่วยเหลือกับทางมูลนิธิประมาณ 200 ราย ซึ่งความรุนแรงส่วนใหญ่เกิดในคู่รัก หรือสามีภรรยา และมักเกิดขึ้นกับประชาชนที่มีอายุระหว่าง 30-40 ปี รองลงมาคือ 40-50 ปี และ 20-30 ปี นอกจากนี้ปัจจุบันยังพบว่าวัยรุ่นอายุ 17-25 ปี ก็มีผลกระทบในเรื่องของความรุนแรงเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน (จากตัวเลขที่เห็นนี้ แสดงให้เห็นความความรุนแรงในครอบครัว เกิดขึ้นมากในช่วงวัยที่มีการแต่งงานหรือหญิง-ชายอาศัยอยู่ด้วยกันแล้ว)
เพราะความรุนแรงยังคงฝังอยู่ในสังคม
อาจกล่าวได้เลยว่าผู้หญิงตกเป็นเบี้ยล่างในแทบทุกวัฒนธรรมในแทบทุกสังคมของโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าในโลกตะวันตก หรือฝั่งตะวันออก เมืองหลวงใหญ่เช่น อย่างกรุงโรม อิตาลี ที่เป็นศูนย์กลางทางศาสนาคริสต์ หรือในเมืองไทยที่ขึ้นชื่อว่าเมืองพุทธ การกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง ก็ยังคงเกิดขึ้น
Luca Lavarone นักข่าวอิตาเลียน จาก fanpage.it ทำการสัมภาษณ์แบบสุ่มกับเด็กชายอายุ 11 ปีลงไปที่เจอตามท้องถนนในวันถ่ายทำ
วีดีโอดังกล่าวถูกทำขึ้น ท่ามกลางปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของอิตาลีซึ่ง ผู้หญิง 31% ที่มีอายุระหว่าง 16-70 ปี ถูกกระทำความรุนแรงทั้งทางกาย และทางเพศ โดยเนื้อหาในวีดีโอได้สัมภาษณ์เด็กชายหลายคน เกี่ยวกับ ‘มาติน่า’ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ทีมงานพามายืนอยู่ตรงหน้าพวกเขา ก่อนจะถามคำถามหลายอย่างและขอให้ปฏิบัติกับเธอหลายอย่างเช่น กล่าวชม จับมือเธอ เด็กแต่ละคนต่างมีความคิดเห็น และมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป สุดท้ายทีมงานขอให้เด็กผู้ชายเหล่านั้น “ตี” เธอ แต่ทุกคนต่างตกใจและปฏิเสธ โดยให้ความคิดเห็นต่างๆ เช่น
“ผมทำไม่ได้ เพราะเธอเป็นเด็กผู้หญิงผมจะไม่ทำ”
“ทำไมไม่ควรตีนะเหรอ เพราะเราเป็นลูกผู้ชายนะ”
“ผมต่อต้านความรุนแรง”
“เพราะพระเยซู ไม่ต้องการให้เราทำร้ายคนอื่น”
และมีเด็กคนนึงบอกว่า… “มีคนบอกไว้ว่า ‘เด็กผู้หญิงไม่ควรถูกตีด้วยอะไรเลย แม้กระทั่งด้วยดอกไม้’”
ความรุนแรงต่อผู้หญิงไม่ใช่ความชอบธรรม
แต่เดิมโลกโบราณแต่ละวัฒนธรรมก็มีเรื่องของความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิง-ชายในสังคม เรื่องราวในพระคัมภีร์เหล่านั้นสะท้อนถึงแนวคิดทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับเพศสภาวะในแต่ละยุคสมัยและพูดถึงความบาปที่มีอยู่ในมนุษย์และการปฏิบัติต่อผู้หญิงที่ไม่ชอบธรรมหลายต่อหลายครั้งในสังคมที่มีวัฒนธรรมผู้ชายเป็นใหญ่แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
“พระเยซูไม่ต้องการให้เราทำร้ายคนอื่น” คำพูดของเด็กชายตัวเล็กๆ คนหนึ่ง และคำพูดอื่นๆ ในคลิปวีดีโอสะท้อนให้เราเห็นทัศนคติและความเชื่อที่ผู้ใหญ่ที่เราต่างสอนและถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง ไม่มีอะไรจะอ่อนโยนพอให้เราใช้ในการทำร้ายใคร ไม่แม้แต่ดอกไม้ สายตา หรือ คำพูด
แม้โครงสร้างสังคมจะเป็นอย่างไร น้ำพระทัยของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์นั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลง คือให้ทั้ง ชาย-หญิง เคียงข้างกัน ด้วยศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมในฐานะเป็นลูกของพระองค์ สิ่งที่สะท้อนในพระเยซูที่ปฏิบัติต่อสาวกของพระองค์อย่างไม่เลือกปฏิบัติ ความรักนั้นยิ่งใหญ่ และให้เกียรติกัน โดยไม่แบ่ง เพศ ชั้น วรรณ หากเราจะเข้าใจน้ำพระทัยของพระเจ้าที่แท้จริงสำหรับความสัมพันธ์ เราอาจต้องเลือกที่จะมองจากมุมมองของพระเยซูคริสต์ ผู้เป็นตัวแทนของพระเจ้าในเรื่องของการให้เกียรติซึ่งกันและกันมากกว่า พระองค์ทรงให้เกียรติทุกคนและใส่ใจกับผู้หญิงยากจน และคนที่เล็กน้อยในสังคม เช่น เหตุการณ์ของหญิงชาวสะมาเรียที่บ่อน้ำ หญิงที่มีโลหิตตก หญิงม่ายที่พระวิหาร รวมถึงมารีย์และมาร์ธา
พระคัมภีร์บอกว่า จงให้เกียรติกัน
จงปฏิบัติต่อเขาอย่างที่อยากให้เขาปฏิบัติต่อท่าน
ความรักนั้นก็อดทนนาน และกระทำคุณให้ ไม่ฉุนเฉียว
“ความรักไม่ทำอันตรายเพื่อนบ้านเลย เหตุฉะนั้นความรักจึงเป็นการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติอย่างครบถ้วน” – โรม 13:10
.
#ด้วยรักและชูใจ
—————————————
อ้างอิงข้อมูล
5 ข้อปฏิบัติ ป้องการความรุนแรงในสตรี www.thaihealth.or.th , สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2020
ภาพประกอบ : บทความดัดแปลงจากภาพต้นฉบับของ คุณ Evie S.
.
ชูใจขอความรัก สันติสุข ของพระเจ้าทรงดำรงอยู่กับเรา และให้เราปฏิบัติต่ิกันและกันด้วยความรัก เช่นเดียวกับที่พระเจ้าทรงรักเราและทรงดีทุกคนอย่างมากมาย ติดตามอ่านบทความและฟัง Podcast ของชูใจ Project ได้ทาง www.choojaiproject.org เช่นเคยจ้าาา
Related Posts
- Author:
- Blogger ผู้มากความสามารถในงานเขียน เป็นคริสเตียนที่เรียนสังคมวิทยา ฯ มาอย่างโชกโชน สเตตัสปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ และ รับใช้พระเจ้าไปด้วย :)
- Illustrator:
- Narit
- เนื้อแท้เป็นคนรักหนัง เบื้องหลังดีไซน์เก๋ๆ สวยๆ ของเว็บชูใจ คือฝีมือของเค้า นักออกแบบตัวยงผู้รักบอร์ดเกมเป็นชีวิตจิตใจ และอยากเห็นงานสร้างสรรค์คริสเตียนไทยพัฒนาก้าวไกลไม่แพ้ชาติไหนในโลก