EP.2

รักเพื่อนเตือนเพื่อนยังไงดี


การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญใน EP. ที่แล้วพี่กานต์พูดถึงการสื่อสารกับพ่อแม่ ส่วนใน EP. นี้เรามาลองดูวิธีการคุยกับเพื่อนหรือคนระดับเดียวกันบ้าง ถึงจะเป็นเพื่อนกันแต่เรื่องบางเรื่องก็ยังอ่อนไหวต่อความสัมพันธ์เกินกว่าที่น้องๆ หลายคนจะกล้าคุยโดยเฉพาะเรื่องการเตือน

 

การตักเตือนหรือการให้คำแนะนำเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมาก แม้แต่ในองค์กรใหญ่ๆ ยังต้องฝึกฝนพนักงานของเขาให้สามารถเตือนผู้อื่นและรับการเตือนจากผู้อื่นได้ “การเตือนใครสักคน” บางครั้งก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายแต่บางทีก็ไม่ง่ายอย่างนั้น

 

สมมติว่าเพื่อนสนิทเราคนนึงเขียนคิ้วเข้มมากๆ หรือเพื่อนอยากเป็นนักร้องแต่ร้องเพลงเพี้ยนมากๆ เราจะทำอย่างไรดี (ให้เวลาคิดสักหน่อย)

 

บางคนก็คิดว่าจะเตือนไปตรงๆ บางคนคงขอเวลาสักพักเพื่อคิดว่าจะเตือนยังไงดี เพราะเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก เราอาจจะเสียความสัมพันธ์กับเพื่อน หรือเพื่อนอาจจะไม่เข้าใจเราเลยก็ได้…

 

_______________

 

ก็แค่เรื่องเตือนกันทำไมมันยากนักนะ?

 

เรามาทบทวนกันว่าอะไรเป็นอุปสรรค์ที่ทำให้เราไม่เตือนเพื่อนดีกว่า น้องๆอาจจะคิดไปพร้อมๆกันได้เลยนะ

อาจเป็นความไม่กล้าของเราหรือเราคิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของเขาหรือกลัวเพื่อนโกรธ กลัวเพื่อนไม่เข้าใจ กลัวความสัมพันธ์เสีย อะไรอีกน้า… พี่กานตี้คิดว่ามีอีกเยอะเลยแหละ

 

แล้วอะไรที่ทำให้เราอยากเตือนเพื่อนล่ะ…?

เพราะเรารักเขา เพราะเราจริงใจ เพราะเราหวังดี และเราเป็นห่วงเขา หรืออื่นๆอะไรทำนองนี้เนอะ แม้ว่า

บางครั้งความห่วงและความรักที่เรามีให้เพื่อนก็เยอะแต่เราก็ห่วงตัวเองมาก รักตัวเองมากเหมือนกัน จนไม่กล้าที่จะพูดความจริง เพราะเรากังวลว่าว่าความจริงอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของเราเสีย วันนี้จึงอยากแนะนำเทคนิคในการเตือนเพื่อนที่ชิคมากๆให้รู้จักกันค่ะ

 

_______________

 

การเตือนเพื่อนด้วยเทคนิค Sandwich

 

เทคนิคหนึ่งที่ดีสำหรับการแนะนำ หรือ เตือนผู้อื่นที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมคือเทคนิคการเตือนแบบ Sandwich Feedback รายละเอียดเป็นยังไงนั้น มาดูกันดีกว่า

 

  1. ชื่นชมหรือบอกสิ่งดีที่เพื่อนทำได้ดีแล้ว (+)
  2. แนะนำที่ควรพัฒนา หรือปรับปรุง โดยระบุเป็นพฤติกรรมที่ชัดเจน  (-)
  3. บอกสิ่งสิ่งที่ควรทำต่อไป หรือให้กำลังใจว่าถ้าเพื่อนทำอย่างที่แนะนำแล้วจะเป็นอย่างไร (+)

 

 

เช่น

 

เหตุการณ์ที่ 1 : เพื่อนอยากเป็นนักร้องแล้วร้องเพลงเพี้ยน

 

  1. ชื่นชมถึงความตั้งใจหรือความพยายาม หรือท่อนที่เพื่อนทำได้ดี เช่น เธอๆ เราเห็นว่าเธอซ้อมร้องเพลงนี้บ่อยมาก เธอตั้งใจจังเลย และเธอร้องท่อนคอรัสได้ดีมากเลย
  2. แนะนำส่วนที่ควรพัฒนา หรือสิ่งที่เราอยากเตือนด้วยความหวังดี เช่น มีท่อนนึงตรงนี้ เราว่ามันยังไม่ค่อยถูกคีย์นะ เสียงมันสูงไปหน่อยอ่ะ
  3. ให้กำลังใจ และสนับสนุนให้พัฒนาต่อไป เช่น เธอลองฟังท่อนนี้อีกรอบแล้วลองฝึกดูนะ เราว่าถ้าท่อนนี้ถูกคีย์ มันจะเยี่ยมมากเลย แต่วันนี้เธอก็ทำได้ดีมากๆแล้ว

เหตุการณ์ที่ 2 : เพื่อนหักโหมลดน้ำหนักจนเสียสมดุลย์โดยการอดข้าวและออกกำลังกายอย่างบ้าคลั่ง

 

      1. ฉันดีใจนะที่เธอหันมาใส่ใจเรื่องการลดน้ำหนัก หุ่นเธอดูดีขึ้นจากคราวก่อนแล้วด้วย
      2. มีเรื่องที่ฉันเป็นห่วงคือเธออดข้าวเย็นแล้วก็ออกกำลังกายอย่างหนักวันละ 3 ชั่วโมง ซึ่งมันน่าจะมากเกินไปสำหรับร่างกายของคนเรานะ สัก 1 ชั่วโมงก็น่าจะพอแล้ว ถ้ากลัวน้อยไปลองเปลี่ยนมาเดินระหว่างวันเพิ่มก็ได้ แล้วก็กินข้าวเย็นสักหน่อยมันจะได้ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว
      3. ฉันอยากให้เธอค่อยเป็นค่อยไปไม่อยากให้หักโหม น้ำหนักอาจจะลงช้ากว่าที่คิดแต่ยังไงก็ได้สุขภาพที่ดีอะ อย่างเธอทำได้แน่นอน

 

เหตุการณ์ที่ 3 : เพื่อนเราจู้จี้และเครียดเรื่องงานกลุ่มมากเกินไป

 

        1. ฉันรู้ว่าเธอเป็นห่วงและอยากทำให้ทุกอย่างออกมาดีที่สุดในฐานะหัวหน้า
        2. บางครั้งก็เลยดูเครียดเกินไปหน่อย คนรอบข้างก็พลอยเครียดไปด้วย ฉันอยากให้เธอมอบหมายงานใช้ชัดเจนแล้วลองปล่อยให้ทีมทำไปตามหน้าที่ของเค้า
        3. ที่ผ่านมาเธอก็ทำได้เต็มที่แล้ว ลองผ่อนคลายบ้างดีไหมบรรยากาศการทำงานจะได้สนุกขึ้น

 

การใช้เทคนิคการเตือนแบบ Sandwich Feedback นั้นควรอยู่บนพื้นฐานของ “ความรักและความจริง” เพราะความหวังดีที่จริงใจจะเป็นสิ่งที่คนฟังรู้สึกได้ เมื่อคนฟังเข้าใจความรู้สึกหวังดีของเราเขาก็จะเปิดใจฟังเรา การพูดแบบแซนด์วิสนี้เป็นเพียงการปรุงรสให้น่าฟังเท่านั้นเหมือนที่พระคัมภีร์ว่าไว้ว่า

 

“จงให้วาจาของท่านประกอบด้วยเมตตาคุณเสมอ ปรุงด้วยเกลือให้มีรส
เพื่อท่านจะได้รู้จักตอบให้จุใจแก่ทุกคน”
(โคโลสี 4:6)

 

ความรัก และความหวังดีเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเราเตือนเพื่อนด้วยความรัก ความจริงใจ ก็รวบรวมพลังรักทั้งหมดที่เรามี ส่งไปให้เขาและสัจจะจะทำให้เราเป็นไท เรื่องที่ต้องเตือนก็ควรต้องเตือนเพื่อนจะรู้วันนี้จากเราหรือพรุ่งนี้จากคนอื่น หรือรู้เดือนหน้าจากตัวเขาเอง ยังไงวันหนึ่งเขาก็ต้องรู้อยู่ดี เพราะมันเป็นความจริง เราเลือกที่จะชื่นชมสิ่งดีที่เพื่อนมี มองจุดเด่นเยอะๆ และไม่เน้นที่การปรับเปลี่ยนตัวตนเขา แต่แนะนำพฤติกรรมหรือการกระทำที่แก้ไขได้ และให้กำลังใจเยอะๆ พี่เชื่อว่าเความสัมพันธ์เราจะไม่เสียแน่นอนค่ะ

.

ด้วยรักและชูใจ

พี่กานตี้


Previous Next

  • Illustrator:
  • Jostar
  • พี่ชายผู้อบอุ่นละมุนละไม เวลาใส่หมวกกันน๊อคแล้วนั่ลล๊าคดั่ง Pororo อดีตมาสเซอร์วิชาสอนศิลปะ ปัจจุบันถวายตัวรับใช้ที่โบสถ์สไตล์ลอฟๆ ชอบขีดๆ เขียนๆ วาดๆ
  • Editor:
  • Perapat T.
  • Blogger ผู้มากความสามารถในงานเขียน เป็นคริสเตียนที่เรียนสังคมวิทยา ฯ มาอย่างโชกโชน สเตตัสปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ และ รับใช้พระเจ้าไปด้วย :)